การตั้งชื่อตามหลักทักษา

โปรแกรมตั้งชื่อลูก ทุกชื่อมีคำอ่าน ความหมาย และสะกดชื่อภาษาอังกฤษถูกต้อง

คลิกตามไปดูได้ที่ www.programcalculator.com/goodname ครับ

การตั้งชื่อตามหลักทักษา แบ่งตัวอักษรไทย และสระไทย เป็น 8 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 สระทั้งหมด ยกเว้น ไม้หันอากาศ การันต์
กลุ่มที่ 2 ก ข ค ฆ ง
กลุ่มที่ 3 จ ฉ ช ฌ ญ
กลุ่มที่ 4 ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ
กลุ่มที่ 5 บ ป ผ ฝ พ ฟ ภ ม
กลุ่มที่ 6 ศ ษ ส ห ฬ อ
กลุ่มที่ 7 ด ต ถ ท ธ น
กลุ่มที่ 8 ย ร ล ว

โดยแต่ละกลุ่มตัวอักษร จะเป็นอักษรแทนถึงปัจจัยด้าน บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี และกาลกิณี ซึ่งคนที่เกิดแต่ละวัน  ปัจจัยต่างๆและกลุ่มอักษรจะแตกต่างกันดังตาราง

วันเกิด

บริวาร อายุ เดช ศรี มูละ อุตสาหะ มนตรี กาลกิณี
วันอาทิตย์ 1 2 3 4 7 5 8 6
วันจันทร์ 2 3 4 7 5 8 6 1
วันอังคาร 3 4 7 5 8 6 1 2
วันพุธกลางวัน 4 7 5 8 6 1 2 3
วันพฤหัสบดี 5 8 6 1 2 3 4 7
วันศุกร์ 6 1 2 3 4 7 5 8
วันเสาร์ 7 5 8 6 1 2 3 4
วันพุธกลางคืน 8 6 1 2 3 4 7 5

โดยความหมายของแต่ละปัจจัยมีดังนี้

  • บริวาร หมายถึง คนในครอบครัวที่เราต้องดูแล ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา
  • อายุ หมายถึง สุขภาพ พลังชีวิตของตนเอง
  • เดช หมายถึง ความสำเร็จของการเรียนและการทำงาน
  • ศรี หมายถึง สเน่ห์ สิ่งที่ดีงาม สิริมงคล
  • มูละ หมายถึง ถิ่นฐานที่อยู่ ทรัพย์สิน มรดกตกทอด
  • อุตสาหะ หมายถึง ความพากเพียรในการเรียนและการทำงาน
  • มนตรี หมายถึง ผู้อุปถัมภ์เรา ได้แก่ บิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ เจ้านาย หัวหน้า ฯลฯ
  • กาลกิณี หมายถึง สิ่งไม่ดีทั้งปวง

การตั้งชื่อควรตั้งชื่อไม่มีกาลกิณี ผู้ชายควรมีเดช ผู้หญิงควรมีศรี

ทักษามีที่มาจาก ลิลิตทักษาพยากรณ์ พระนิพนธ์ของ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี

รวิ รวี รพิ รพี รดี รติ ฤดี วดี คำใกล้เคียง

รวิ, รวี, รพิ, รพี แปลว่า พระอาทิตย์

รดี, รติ แปลว่า ความยินดี, ความชอบใจ

ฤดี แปลว่า รติ, ความยินดี, ใจ

ฤดียา, ฤติยา แปลว่า เกลียด, รังเกียจ, ดูถูก

วดี เป็น คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนาม หมายความว่า มี เป็นเพศหญิงตามหลักไวยากรณ์ เช่น ดาราวดี ว่า มีดาว.

สังเกตว่าแต่ละคำ ไม่มี สระอะ

ไม่มีมลทิน ไม่มัวหมอง มีได้หลายชื่อ

นฤมล , นิรมล , วิมล , พิมล

แปลว่า ไม่มีมลทิน ไม่มัวหมอง

นฤ มี 2 ความหมาย ความหมายแรกคือ คน ความหมายที่สอง คือ ไม่ , นฤมล แปลว่า ไม่มีมลทิน

นิร แปลว่า ไม่

วิ เป็นคำอุปสรรคในภาษาบาลี สันสกฤต และนำมาใช้ในภาษาไทยบ้างก็มี แปลว่า วิเศษ, แจ้ง, ปราศจาก, ต่าง, ผิด, กลับความ,
เช่น วิญญู = ผู้รู้แจ้ง , วิบุตร = ปราศจากลูก , วิมรรค = ทางผิด , วิสม = ไม่เสมอ ฯลฯ.

มล แปลว่า มลทิน มัวหมอง

มน แปลว่า ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่); ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน ปกเสื้อมน.

วิมน แปลว่า ว. ใจคอวิปริต เคลือบแคลง, ไม่พอใจ ไม่สนใจ. (ป.).

นัด หลายนัด คำพ้องเสียง

นัจ แปลว่า การฟ้อนรำ
นัฏ[ฏ ปะตัก] แปลว่า ก. ฟ้อนรำ.
นัฏกะ (นัดตะกะ) แปลว่า น. ผู้ฟ้อนรำ.
นัฑ แปลว่า น. ไม้อ้อ.
นัฐ แปลว่า ฉิบหาย

นัด แปลว่า ก. ตกลงกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะกำหนด; น. การกำหนดตกลงว่าจะพบปะกันเป็นต้น เช่น มีนัด ผิดนัด; ลักษณนามเรียกการกำหนดประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ขาดประชุม ๓ นัด; เรื่อง, ข้อ, เช่น มีพระราชปฏิสันถาร ๓ นัด; ก. เป่าหรือสูดให้วัตถุที่เป็นผงอย่างยานัตถุ์เข้าในจมูก เช่น นัดยานัตถุ์; ลักษณนามเรียกกระสุนปืนทั้งที่ยังมิได้ยิงและที่ได้ยิงออกไปแล้ว เช่น กระสุน ๓ นัด ยิงสลุต ๒๑ นัด.

นัตถุ์ (นัด) แปลว่า น. จมูก.

ณัฐ, ณัฏฐ์[ฏ ปะตัก] (มค. ณฏฺฐ) แปลว่า น. ผู้ตั้งอยู่ในความรู้, นักปราชญ์

เลือกสะกดให้ถูก เพื่อให้มีความหมายที่ต้องการ