วลัย วิลัย วิไล พิไล พิไร พิลาป พิลาส คำใกล้เคียง

วลัย (วะไล) แปลว่า น. กำไลมือ, ทองกร, ของที่เป็นวงกลม, วงกลม.

วิลย-, วิลัย (วิละยะ-, วิไล) แปลว่า น. ความย่อยยับ, การสลาย, การทำให้สลาย.

วิไล แปลว่า งาม

พิไล แปลว่า ว. งาม.

พิไร แปลว่า ว. รำพัน, รํ่าว่า, รํ่าร้อง.

พิลาป แปลว่า ก. รํ่าไรรำพัน, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, บ่นเพ้อ.

พิลาส (พิลาด) แปลว่า กรีดกราย, เยื้องกราย, คะนอง, ฟ้อนรำ, งามอย่างมีเสน่ห์, งามอย่างสดใส, สนุก.

อานน อานนท์ อานันท์ อนันต์ กณิกนันต์ คำใกล้เคียง

อานน แปลว่า น. ปาก, หน้า, ช่อง, ประตู.

อานนท์ แปลว่า น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์. ชื่อปลา ๑ ใน ๗ ตัว ในหนังสือไตรภูมิกถา, ชื่อปลาใหญ่ในวรรณคดี เชื่อกันว่าหนุนแผ่นดิน เมื่อปลานี้พลิกตัวจะทำให้เกิดแผ่นดินไหว, อนนต์ ก็ว่า.

อานันท์ น. ความเพลิดเพลิน, ความยินดี, ความปลื้มใจ, มักใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น จิตกานนท์.

อนันต-, อนันต์ (อะนันตะ-, อะนัน) แปลว่า ว. ไม่มีสิ้นสุด, มากล้น, เช่น อนันตคุณ คุณอนันต์.

กณิกนันต์ (กะนิกนัน) แปลว่า ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์).

วชิระ อชิระ ชิระ ชีระ คำใกล้เคียง

วชิร-, วชิระ (วะชิระ-) แปลว่า น. สายฟ้า, เพชร, อาวุธพระอินทร์.

อชิระ แปลว่า น. สนามรบ, ที่ว่าง, ลาน. ว. คล่อง, ว่องไว, ตัวเบา.

ชิระ แปลว่า ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชำรุด.

ชิรณ-, ชิรณะ (ชิระนะ-) แปลว่า ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชำรุด.

ชีระ แปลว่า ว. แก่, ครํ่าคร่า, ชำรุด. ว. ว่องไว, เก่ง, เชี่ยว.

ราช ราษฎร์ รัช รัฐ … คำพ้องเสียง คำใกล้เคียง

ราช แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน
ราด แปลว่า เทของเหลว
ราต แปลว่า ให้มาแล้ว
ราตร แปลว่า กลางคืน, เวลามืด
ราษฎร์ แปลว่า ประชาชน

รัช แปลว่า น. ธุลี ฝุ่น ผง ละออง. (ป. รช).[รัดชะ–] น. ความเป็นพระราชา ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).[รัดชะ–] น. ความเป็นพระราชา ราชสมบัติ. (ป. รชฺช).
รัชชุ แปลว่า สาย, เชือก
รัชด– รัชต–[รัดชะ–] แปลว่า น. รชตะ เงิน. (ส. ป. รชต).
รัฐ แปลว่า แคว้น
รัด แปลว่า โอบรอบหรือพันให้กระชับ
รัต แปลว่า ยินดี, ชอบใจ, ราตรี, กลางคืน, ย้อมสี, มีสีแดง, กำหนัด, รักใคร่
รัตติ แปลว่า กลางคืน
รัตน-, รัตน์, รัตนะ (รัดตะนะ-, รัด, รัดตะ-) แปลว่า น. แก้วที่ถือว่ามีค่ายิ่ง
รัถ แปลว่า รถ
รัศมี แปลว่า น. แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, แสงสว่าง, เส้นที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงกลมไปถึงเส้นรอบวง.
รัส-, รัสสะ (รัดสะ-) แปลว่า ว. สั้น.

หลักทักษา ตั้งชื่อ

1. ในการตั้งชื่อ กลุ่มอักษรมีทั้งหมด 8 กลุ่ม
โดยความหมายของแต่ละกลุ่มอักษรมีดังนี้
บริวาร หมายถึง คนในครอบครัวที่เราต้องดูแล ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา
อายุ หมายถึง สุขภาพ พลังชีวิตของตนเอง
เดช หมายถึง ความสำเร็จของการเรียนและการทำงาน
ศรี หมายถึง เสน่ห์ สิ่งที่ดีงาม สิริมงคล
มูละ หมายถึง ถิ่นฐานที่อยู่ ทรัพย์สิน มรดก
อุตสาหะ หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร
มนตรี หมายถึง ผู้อุปถัมภ์เรา ได้แก่ บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ ครู อาจารย์ เจ้านาย หัวหน้า ฯลฯ
กาลกิณี หมายถึง สิ่งไม่ดีทั้งปวง

2. คนที่เกิดวันต่างกัน กลุ่มอักษรต่างกัน

3. วันเกิดทางทักษา ไม่เหมือนวันเกิดทางสากล
โดยหลักสากล จุดเปลี่ยนวัน คือ เวลาเที่ยงคืน
แต่หลักทักษา จุดเปลี่ยนวัน คือ เวลาพระอาทิตย์ขึ้น ดังนั้นถ้าคุณเกิดเวลาตีสอง ซึ่งพอพระอาทิตย์ขึ้นจะเป็นวันอังคาร ตามหลักทักษา ณ จุดนั้น คือวันจันทร์ ไม่ใช่วันอังคาร
วันตามหลักสากล มี 7 วัน คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์
วันตามหลักทักษา มี 8 วัน คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธกลางวัน พุธกลางคืน พฤหัสบดี ศุกร์ เสาร์
วันพุธกลางคืน นับตั้งแต่พระอาทิตย์ตกของวันพุธ จนถึงพระอาทิตย์ขึ้นของวันพฤหัส